Shunyata Denali D6000/S v2 ในทัศนะของกูรูด้านไฮไฟ

ในปี 2016 Shunyata Research ได้เปิดตัวเพาเวอร์คอนดิชันเนอร์หรือเครื่องกรองไฟรุ่น Denali Series ออกสู่ตลาดโดยชูจุดเด่นด้านประสิทธิภาพที่คุ้มค่าเกินราคา เป็นเครื่องกรองไฟที่ใช้เทคโนโลยีระดับไฮเอนด์ที่จำหน่ายในราคาที่ย่อมเยามากขึ้น ล่าสุด Caelin Gabriel เจ้าของและนักออกแบบแห่ง Shunyata ได้เปิดตัว Denali รุ่นที่ 2 หรือรุ่น v2 ออกมา โดยมี Denali D6000/S v2 (ราคา $4500) เป็นสินค้ารุ่นแรก

Denali D6000/S v2 มาพร้อมกับเต้าเสียบทั้งหมด 6 ชุด ซึ่งมาพร้อมกับคุณสมบัติต่าง ๆ ที่เป็นเทคโนโลยีสำคัญของทาง Shunyata พร้อมทั้งได้ใส่เทคนิคพิเศษเพิ่มเติมเข้าไป อย่างแรกและเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ว่าจะสำคัญมากที่สุดก็คือ การใช้วงจรฟิลเตอร์สัญญาณรบกวนขนาดใหญ่พิเศษที่แต่เดิมทาง Shunyata ได้ออกแบบเอาไว้ใช้กับสินค้าในกลุ่มอุปกรณ์ทางการแพทย์ของทางบริษัทเอง

ทว่าสิ่งที่แตกต่างไปก็คือ แต่เดิมนั้นวงจรนี้ได้ถูกออกแบบให้ทำการฟิลเตอร์หรือลดสัญญาณรบกวนในระดับสูงสุด ในดีไซน์ใหม่นี้มันได้ถูกปรับเปลี่ยนให้เน้นไปที่การจ่ายกระแสอย่างฉับพลันได้สูงสุดแทน ซึ่งนั่นคือสิ่งที่จำเป็นสำหรับวงจรขยายเสียง

นอกจากนั้นในรุ่นเดิมเต้าเสียบแต่ละคู่จะมีวงจรฟิลเตอร์เพียงแค่ชุดเดียว แต่ในรุ่นใหม่นี้เต้าเสียบแต่ละช่องจะมีวงจรฟิลเตอร์แยกส่วนของมันเอง และทั้งหมดได้รับการออกแบบให้สามารถส่งผ่านกระแสไฟฟ้าได้ในระดับสูงสุด ในรุ่น v2 ยังได้เพิ่มระบบกราวด์เพลนเพื่อลดสัญญาณรบกวนเข้ามาใหม่

เมื่อวงจรฟิลเตอร์ที่ได้รับการปรับเปลี่ยนมาใหม่ได้ทำงานร่วมกับระบบกราวด์เพลนที่เพิ่มเข้ามา ส่งผลให้การลดสัญญาณรบกวนสามารถทำได้ถึงระดับ -68dB ที่ความถี่ 1MHz

เพื่อเป็นการเปรียบเทียบให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น ปัจจุบันอุปกรณ์เพาเวอร์คอนดิชันเนอร์เกือบทั้งหมดของ Shunyata รวมทั้งรุ่น Triton v3 ที่เพิ่งเลิกผลิตไป สามารถวัดค่าการลดทอนสัญญาณรบกวนได้ตั้งแต่ -24 ถึง -28dB ที่ความถี่ 1MHz

Grant Samuelsen แห่ง Shunyata ได้เผยว่า “รุ่น Triton v3 ของเราเหนือกว่าด้วยการส่งผ่านกระแสไฟฟ้า ขณะที่ Denali รุ่นแรกเหนือกว่าด้วยความสามารถในการลดทอนสัญญาณรบกวน สำหรับ Denali v2 มันได้รวมความสามารถด้านการส่งผ่านกระแสไฟฟ้าในระดับใกล้เคียงรุ่น Triton v3 ขณะที่สามารถลดทอนสัญญาณรบกวนได้เหนือกว่า”

Marc Mickelson นักวิจารณ์จาก The Audio Beat ให้ความเห็นว่าในฐานะที่ได้ใช้งานอุปกรณ์เพาเวอร์ของ Shunyata มาตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ Hydra รุ่นดั้งเดิมรวมทั้งรุ่น Triton อีกหลายตัว แม้ว่า Denali D6000/S v2 เพียงชุดเดียวจะไม่สามารถรองรับอุปกรณ์ทั้งหมดในซิสเตมของผมได้ แต่มันก็เหมาะสำหรับอุปกรณ์บางส่วนเช่น ปรีแอมป์, แอมป์โมโน, เครื่องเล่นยูนิเวอร์แซล, โฟโนสเตจ และเทิร์นเทเบิ้ล หรือว่าจะเป็นชุดเครื่องเล่น dCS Rossini ทั้งชุดและโมโนแอมป์)

สิ่งที่ได้รับคือเสียงที่เปิดเผยอย่างเป็นธรรมชาติมากขึ้น และไม่มีเสียงแปลกปลอมที่เป็นมลพิษกับการฟังเพลง ชิ้นดนตรีที่มีความกระจ่างสดใสและมีความบริสุทธิ์อย่างที่เสียงดนตรีนั้น ๆ ควรจะเป็น ทำให้เพลงที่ฟังอุดมไปด้วยรายละเอียดและไดนามิกของเสียงอย่างชัดเจน เมื่อพูดถึงการปลดปล่อยไดนามิกของเสียงออกมาได้มันดูเหมือนเป็นสิ่งที่ค้านกับพฤติกรรมของเครื่องกรองไฟชั้นดีทั่วไปที่ัมักจะมีการอั้นของไดนามิกเสียง แต่มันคือเรื่องจริง ผมคิดว่ามันเป็นเพราะการถ่ายทอดเสียงที่มีความกระจ่างชัดเจนในระดับสุดยอดของ Denali D6000/S v2 ซึ่งทำให้เสียงเพลงมีความสมจริงมากขึ้น และมีเสียงของความเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ราคาแพงลดลง เสียงเพลงมันเหมือนมีจิตวิญญาณ ซึ่งผมไม่จำเป็นต้องตั้งใจฟังเลยก็ยังสามารถรับรู้ได้เช่นนั้น

Marc Mickelson ยังให้ความเห็นว่าเมื่อเป็นเช่นนั้นผมจึงสงสัยว่า Denali D6000/S v2 จะส่งผลอย่างไรต่อยอดขายของรุ่น Triton v3 ซึ่งเป็นรุ่นเรือธงในปัจจุบันของ Shunyata ซึ่งผมมาทราบภายหลังว่าทางบริษัทได้เลิกผลิตรุ่น Triton v3 ไปแล้ว ขณะที่ Denali D6000/S v2 ก็มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับอ้างอิงได้อย่างภาคภูมิ รวมทั้งรุ่นใหม่ที่มีเต้าเสียบ 8 ช่อง Tower Denali ซึ่งเตรียมเปิดตัวในต้นปีหน้าด้วย

บางทีนี่อาจเป็นวัฏจักรของนักออกแบบเครื่องเสียงที่จำเป็นต้องปลดระวางรุ่นเก่า ถ้าหากว่ามีรุ่นใหม่ที่ราคาย่อมเยากว่าแต่มีประสิทธิภาพเหนือกว่าออกมา เมื่อพิจารณาแค่ราคา Denali D6000/S v2 อาจวางตัวเป็นสินค้าในระดับกลางสำหรับ Shunyata Research ในปัจจุบัน ทว่าการมีประสิทธิอยู่ในระดับอ้างอิงโดยแท้ แต่ค่าตัวยังห่างไกลจากคำว่าระดับอ้างอิง ทำให้ผมสามารถยกย่องให้มันเป็นสินค้าที่ดีที่สุดตั้งแต่ Caelin Gabriel เคยทำออกมา

Reviews The Audio Beat

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *